การสัมมนานานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

การสัมมนานานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

International Conference on Mathematics and Science Education in the Post COVID-19 Era: Global Issues Awareness

ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2566  ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


จัดโดย 
- มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)
- สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
- สํานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
 - สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)


ความสำคัญ 
            ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ทั่วโลกประสบกับปัญหาภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) สถานศึกษาต้องปิดเพื่อควบคุมการระบาดของโรค เป็นผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดการเรียนรู้ไม่สามารถทําได้อย่างปกติ ทําให้เกิดแนวทางการเรียนแบบใหม่มากมายเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ 

            ทว่าระบบออนไลน์ยังไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เนื่องจากในหลายประเทศพบว่า การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์นั้น ประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนไม่ดีเท่าการเรียนแบบปกติ อีกทั้งครูผู้สอนก็พบปัญหาในการสร้างสื่อประกอบการสอนได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งไม่สามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้เหมือนการเรียนในชั้นเรียนปกตินอกจากนี้ยังเกิดความยากลําบากในการเรียนภาคปฏิบัติการหรือการเรียนรู้ที่ต้องลงมือปฏิบัติจริงเพื่อสร้างทักษะต่าง ๆ ส่งผลให้นักเรียนขาดความรู้ความสามารถและทักษะปฏิบัติการการสัมมนาครั้งนี้ จะกล่าวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 

  1. Talented Student ปัญหาของกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ที่ไดืรับผลกระทบ รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ ให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
  2. Inclusive Education ปัญหาของความเหลื่อมล้ำที่ทําให้การกระจายตัวของการศึกษาไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) นักเรียนบางกลุ่มไม่สามารถเรียนหนังสือได้ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการเกิดช่องว่างของการเรียนรู้ในสังคม
  3. Digital Transformation การปดสถานศึกษาเป็นระยะเวลานาน ไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ทําให้สื่อการเรียนรู้ Digital เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาการเรียนการสอนในระหว่างและหลังการระบาด

            ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาแนวทางการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) การสัมมนาในครั้งนี้ จะกล่าวถึงปัญหาเหล่านี้ รวมถึงผลของการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ต่อระบบการศึกษาในอนาคต และมีแนวทางใดที่สามารถนํามาต่อยอดเพื่อพัฒนาการศึกษาหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วัตถุประสงค์

  1. เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับนานาชาติในหัวข้อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
  2. พัฒนาและส่งเสริมความรู้และประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้แก่ครู นักการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา
  3.  เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ เรียนรู้องค์ความรู้ใหม่และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และนําเสนอผลงานวิชาการ
  4.  ขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับนานาชาติ

กลุ่มเป้าหมาย
 ครู อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ที่ปรึกษาด้านการศึกษา นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับชั้นจากทั่วโลก รวมถึงหน่วยงานด้านการศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ประมาณ 500 คน


Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar